เปลี่ยนภาษา:  English

เรียนที่ SCI-TU

สาขาวิชาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 3.5 ปี
จำนวนรับเข้า: 40 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:
  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิต:
  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    129 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                      30 หน่วยกิต
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            93 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า         6 หน่วยกิต
ค่าเล่าเรียน:
  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)
สถานที่ศึกษา:
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
Contact

  02-564-4440 ต่อ 2500
  physics@tu.ac.th
  https://phys.sci.tu.ac.th/
  Physics Thammasat

เป็นหลักสูตรฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ที่แรกและมีแห่งเดียวในประเทศไทย มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะระดับสูง สามารถสร้างงานวิจัย นวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยมุ่งเน้นให้สามารถพัฒนาระบบเซนเซอร์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อรองรับต่อการเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง 10 กลุ่มอุตสาหกรรม (S-curve) ซึ่งจะเห็นได้ว่านวัตกรรมของระบบเซนเซอร์จะเข้าไปรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายได้เกือบทุกอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร  

คำอธิบายหลักสูตร

เทคโนโลยี นวัตกรรมและ ความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้รัฐบาลได้เล็งเห็นถึง 10 อุตสาหกรรม เป้าหมาย (s-curve) โดย 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ, อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และ 5 อุตสาหกรรมอนาคต ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม, อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ, อุตสาหกรรมดิจิทัล, อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

ทั้งนี้สาขาวิชาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 จึงได้มีแนวคิดในการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ให้เป็นหลักสูตรปริญญาตรีที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ให้มีความรู้และทักษะระดับสูง สามารถสร้างงานวิจัย นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยมุ่งเน้นให้สามารถพัฒนาระบบเซนเซอร์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ (Innovative sensor systems) เพื่อรองรับต่อการเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง 10 กลุ่มอุตสาหกรรม จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของหลักสูตรนี้จะเป็นไปเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย ช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติได้

ในกระบวนการเรียนการสอนของรายวิชาในหลักสูตร มีการเน้นให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานจริง ในรูปแบบของปฎิบัติการและโปรเจคย่อยในรายวิชาที่น่าสนใจ ได้แก่ การโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับอิเล็กทรอนิกส์ ระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ เทคนิคการเชื่อมต่อไมโครคอมพิวเตอร์ ออฟโตอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบวงจรด้วยคอมพิวเตอร์ การออกแบบเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์ ตัวตรวจวัดและทรานสดิวเซอร์ เทคโนโลยีนวัตกรรมตัวตรวจวัด ระบบควบคุมทางอุตสาหหรรม และเมคาทรอนิกส์

การฝึกงานหรือสหกิจ

นักศึกษาสามารถฝึกงานในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานเริ่มต้นในภาคฤดูร้อน ของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

บัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ยังมีศักยภาพทางวิชาการ สำหรับศึกษาต่อในขั้นสูงทั้งในและต่างประเทศ โดยสามารถศึกษาต่อทางสาขาวิชาฟิสิกส์หรือสาขาวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องได้

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
  • วิศวกรฝ่ายวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์
  • วิศวกรฝ่ายผลิต
  • นักวิชาการในหน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ
  • ครูหรืออาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน
  • ประกอบอาชีพอิสระ
ผมเข้ามาเรียนเพราะความที่ชื่อมันแปลกไม่มี ม.ไหนมีสาขานี้ สิ่งสำคัญของฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ คือเรารู้หลักการว่าในทางฟิสิกส์เเล้ววงจรเเละการทำต่างๆ ภายในอุปกรณ์เกิดขึ้นได้อย่างไร เเละค่อยทำไปประยุกต์ใช้ โดยรวมมันดีมากครับ

เป็นหลักสูตรฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ที่แรกและมีแห่งเดียวในประเทศไทย มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะระดับสูง สามารถสร้างงานวิจัย นวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยมุ่งเน้นให้สามารถพัฒนาระบบเซนเซอร์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อรองรับต่อการเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง 10 กลุ่มอุตสาหกรรม (S-curve) ซึ่งจะเห็นได้ว่านวัตกรรมของระบบเซนเซอร์จะเข้าไปรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายได้เกือบทุกอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร  

คำอธิบายหลักสูตร

เทคโนโลยี นวัตกรรมและ ความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้รัฐบาลได้เล็งเห็นถึง 10 อุตสาหกรรม เป้าหมาย (s-curve) โดย 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ, อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และ 5 อุตสาหกรรมอนาคต ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม, อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ, อุตสาหกรรมดิจิทัล, อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

ทั้งนี้สาขาวิชาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 จึงได้มีแนวคิดในการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ให้เป็นหลักสูตรปริญญาตรีที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ให้มีความรู้และทักษะระดับสูง สามารถสร้างงานวิจัย นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยมุ่งเน้นให้สามารถพัฒนาระบบเซนเซอร์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ (Innovative sensor systems) เพื่อรองรับต่อการเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง 10 กลุ่มอุตสาหกรรม จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของหลักสูตรนี้จะเป็นไปเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย ช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติได้

ในกระบวนการเรียนการสอนของรายวิชาในหลักสูตร มีการเน้นให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานจริง ในรูปแบบของปฎิบัติการและโปรเจคย่อยในรายวิชาที่น่าสนใจ ได้แก่ การโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับอิเล็กทรอนิกส์ ระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ เทคนิคการเชื่อมต่อไมโครคอมพิวเตอร์ ออฟโตอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบวงจรด้วยคอมพิวเตอร์ การออกแบบเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์ ตัวตรวจวัดและทรานสดิวเซอร์ เทคโนโลยีนวัตกรรมตัวตรวจวัด ระบบควบคุมทางอุตสาหหรรม และเมคาทรอนิกส์

การฝึกงานหรือสหกิจ

นักศึกษาสามารถฝึกงานในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานเริ่มต้นในภาคฤดูร้อน ของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

บัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ยังมีศักยภาพทางวิชาการ สำหรับศึกษาต่อในขั้นสูงทั้งในและต่างประเทศ โดยสามารถศึกษาต่อทางสาขาวิชาฟิสิกส์หรือสาขาวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องได้

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
  • วิศวกรฝ่ายวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์
  • วิศวกรฝ่ายผลิต
  • นักวิชาการในหน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ
  • ครูหรืออาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน
  • ประกอบอาชีพอิสระ
ผมเข้ามาเรียนเพราะความที่ชื่อมันแปลกไม่มี ม.ไหนมีสาขานี้ สิ่งสำคัญของฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ คือเรารู้หลักการว่าในทางฟิสิกส์เเล้ววงจรเเละการทำต่างๆ ภายในอุปกรณ์เกิดขึ้นได้อย่างไร เเละค่อยทำไปประยุกต์ใช้ โดยรวมมันดีมากครับ
ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 40 คน
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:
  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิต:
  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    129 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            93 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต
ค่าเล่าเรียน:
  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)
สถานที่ศึกษา:
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
Contact