เปลี่ยนภาษา:  English

NEWS & ACTIVITIES

ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวสุดารัตน์ เปรมศิริพัฒน์ ที่ได้รับรางวัล “Young Rising Stars of Science Award 2023” รางวัลเหรียญเงิน สาขาฟิสิกส์

จากการนำเสนอผลงาน ในงาน The 49th International Congress on Science, Technology and Technology – based Innovation (STT49) ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา จัดโดย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในระหว่างวันที่ 23 – 25 มกราคม 2567 ในหัวข้อ “Preparation of rGO/TiO2 Composite Derived from Cassava Residue for Counter Electrodes in Dye-Sensitized Solar Cells” โดยมี รศ.ดร.วสันต์ ไมอักรี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร. เรวัตร ใจสุทธิ สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัล “ผลงานวิจัยดีเด่น” ประจำปี 2566 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สาขาวิชาฟิสิกส์ขอแสดงความยินดีแก่คณะผู้วิจัยที่ได้รับรางวัลจากงานประกวดนวัตกรรม “Seoul International Invention Fair 2023” (SIIF 2023) ระหว่างวันที่ 1-4 พฤศจิกายน 2566 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี โดยได้รับรางวัลดังต่อไปนี้
🥇Gold Prize Distinguished Innovation Award หัวข้อการสังเคราะห์อนุภาคนาโนเงินและอนุภาคนาโนทองคำเพื่อใช้เป็นไบโอเซนเซอร์สำหรับตรวจวัดเซรั่มอัลบูมินเพื่อวินิจฉัยโรคไต
หัวหน้าคณะทีมวิจัย ผศ.ดร.พัชรี ประทุมพงษ์
🥇Gold Prize หัวข้อการออกแบบเครื่องมือตรวจวัดร้อยละของโปรตีนในน้ำนมแม่
หัวหน้าคณะทีมวิจัย อาจารย์ ดร.ณัฐพล นาคปฐมกุล
🥈Silver Prize Special Award หัวข้อเซนเซอร์ตรวจวัดสารกำจัดศัตรูพืช
หัวหน้าคณะทีมวิจัย ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ ตั้งนรวิชญ์

ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร. เรวัตร ใจสุทธิ สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้รับรางวัล “Best Oral Presentation”

ผลงาน Room Temperature Detection of NO2 Gas Using UV-Activated CoPc/IGZO Heterojunction Sensor (การตรวจวัดแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ที่อุณหภูมิห้องโดยใช้เซนเซอร์ CoPc/IGZO Heterojunction ที่กระตุ้นการทำงานด้วยแสงยูวี)
จากงาน The 19th International Meeting on Chemical Sensors (IMCS2023), Jilin University, Changchun, China
มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง จัดให้มีการอบรม “ค่าย 1 : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D Printer” ให้แก่ กลุ่มโรงเรียน ทสรช.ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 9-11 มิถุนายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง โดยมีคณะครูและนักเรียน จำนวน 180 คน จาก 15 แห่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูและนักเรียนจากกลุ่มโรงเรียนด้อยโอกาสภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิ ให้มีความรู้ทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต อาทิ coding, Embedded System, Internet of Things, 3D-Printing, Artificial Intelligence, Computational Thinink โดยให้นักเรยีนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ สร้างความเป็นนวัตกรมให้แก่นักเรียน เกิดทักษะความคิด คิดเป็นระบบ ทำงานเป็นทีม เรียนรู้ผ่านโครงงานทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 พร้อมรับ Thailand 4.0

สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ยินดีต้อนรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการวมว. – สกร. เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานวิจัยและนวัตกรรม ณ สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในวันที่ 1 มิถุนายน 2566

จากใจศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน
อ่านเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจ และประสบการณ์ประทับใจในการเรียนในรั้ว สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของบรรดาศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันหลากหลายสาขาวิชาชีพ
เลือกเรียนในรั้วสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในสาขาที่ผมมีความรักและสนใจทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และดนตรี ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยได้หล่อหลอมสร้าง Passion ให้เป็นจริง

   “เลือกเรียนในสาขาที่รัก” โดยเลือกเรียนฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ขอมอบแนวคิดให้น้องๆ  “สร้างเป้าหมายให้ชัดเจนเพื่อตามความฝัน ด้วยการสมดุล Passion & Life Style” เป้าหมายบางอย่างเราอาจต้องเดินคนเดียว เมื่อมีโอกาสควรลงมือทำก่อนซึ่งมันอาจจะสำเร็จหรือผิดหวังก็ได้ แต่สิ่งที่เราจะได้ คือ “ประสบการณ์”

ณัทภาสกร อ่วมเครือ (พี่แมพ)

ศิษย์เก่าสาขาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ 5

     ด้วยเส้นทางการเรียนรู้แบบนักสู้จากนักศึกษาเกรด 1.92 สู่การสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้วยการค้นพบตัวเองว่า “นักวิจัยในต่างประเทศ” ด้านดาราศาสตร์ โดยมีประสบการณ์ทำงานทั้งสายวิศวกร อาจารย์ R&D และสายวิจัย
     จากประสบการณ์ที่หลากหลายและความกล้าที่จะทดลองศึกษาสิ่งใหม่ๆส่งผลให้สามารถค้นพบงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของชีวิตได้ไม่ยาก

ดร.อัจฉรา เสรีเพียรเลิศ (ดร.คิ้ม)

ศิษย์เก่าสาขาวิชาฟิสิกส์ รุ่นที่ 7